การเริ่มต้นและเตรียมตัว จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด

ธุรกิจหรือกิจการที่เริ่มมีการเติบโต ถ้าต้องการเพิ่มความเชื่อมั่นและน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า ควรมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ซึ่งเราจะมาดูกันนะคะว่าขั้นตอน เอกสาร และวิธีการจดทะเบียนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ควรจดทะเบียนเมื่อไหร่
1.จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อรายได้มากกว่า 750,000 บาท ขึ้นไป หรือตามความเหมาะสม
2.จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อเริ่มประกอบการ สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างเครดิตให้กับกิจการ
3.จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อต้องการสร้างเครดิตให้กับกิจการ เพื่อโปรโมทสินค้า หรือเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

ต้องมีกี่คน ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่

  1. บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทที่จัดตั้งขึ้นโดยแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วน ประเภท ที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนอยู่ 2 จำพวก คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนที่จำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจำพวกหนึ่ง และ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนที่ต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน อีกจำพวกหนึ่ง **บริษัทจำกัด จะมี ผู้ถือหุ้น จะรับผิดเพียงจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังใช้ไม่ครบเท่านั้น ** ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะมี ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จะต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน คือ เกินจำนวนเงินที่ตนประสงค์จะลงหุ้น
  2. บริษัทจำกัด จะต้องมี กรรมการหนึ่งคน หรือหลายคน เป็นผู้แทน จัดการบริษัทจำกัดนั้นตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องมี หุ้นส่วนผู้จัดการ หนึ่งคน หรือหลายคน เป็นผู้แทน จัดการงานของห้างหุ้นส่วน โดยที่หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะสอดเข้าไปจัดการงานของห้างหุ้นส่วนไม่ได้ **การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงเป็นอำนาจเด็ดขาดของ หุ้นส่วนผู้จัดการ
  3. สิทธิ และหน้าที่ ที่เป็นความสัมพันธ์กันเอง ของผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน และบุคคลภายนอก ในบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด ยังมีข้อแตกต่างกันอีกหลายประการ ศึกษาดูได้จากหลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
  4. บริษัทจำกัด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีหน้าหลักที่เหมือน คือมีหน้าที่ต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จะต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิ เหมือนกัน แต่อาจมีหน้าที่ที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันบ้าง ตามประมวลรัษฎากร กำหนดไว้

จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด มีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

บริษัทจำกัด” มีลักษณะดังนี้

  1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 3 คน
  2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
  3. มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
  4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
  5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ห้างหุ้นส่วนจำกัด” มีลักษณะดังนี้

  1. มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
  2. ผู้เป็นหุ้นส่วนมี 2 จำพวก คือ
    2.1 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบ รับผิดเฉพาะจำนวนเงินที่รับว่าจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วน
    2.2 หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความผิดชอบ รับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
  3. ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
  4. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง

จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด

1.ชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จำนวน 3 ชื่อ ไทยและอังกฤษ (เรียงตามความต้องการ)
2.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านหุ้นส่วนผู้จัดการ
3.สำเนาบัตรประชาชนผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด
4.จำนวนทุนจดทะเบียนและสัดส่วนของเงินทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน(ลงหุ้นคนละเท่าไหร่)
5.แผนที่บริษัท 1 ชุด (ไฟล์รูปภาพ)
6.ไฟล์ตราประทับ (สำหรับทำตราประทับ หรือแนบสำหรับการยื่นแบบออนไลน์)
7.วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอะไร
8.เบอร์โทร เมลล์ เว็บไซต์ (ถ้ามี) ที่ใช้ในการติดต่อ หจก.
9.เบอร์โทร เมลล์และอาชีพของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
10.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านผู้ให้เช่าที่เป็นเจ้าของ(สถานที่ตั้งเป็นชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ)
พร้อมหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (กรณีถ้าจัดตั้งและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
แต่ถ้าจัดตั้งอย่างเดียว ให้ใช้แค่สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน
11.รูปถ่ายห้างหุ้นส่วนจำกัดภายในภายนอกอย่างน้อย 5-6 รูป (กรณีถ้าจัดตั้งและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

จดทะเบียนบริษัท

1.ชื่อบริษัท จำนวน 3 ชื่อ ไทยและอังกฤษ (เรียงตามความต้องการ)
2.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และผู้ถือหุ้น 2 ชุด
3.จำนวนทุนจดทะเบียนและจำนวนหุ้น (ค่าหุ้น) ที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25% (ถือหุ้นคนละกี่หุ้น หุ้นละเท่าไหร่)
4.แผนที่บริษัท 1 ชุด (ไฟล์รูปภาพ)
5.ไฟล์ตราประทับ (สำหรับทำตราประทับ หรือแนบสำหรับการยื่นแบบออนไลน์)
6.วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอะไร
7.เบอร์โทร เมลล์ เว็บไซต์ (ถ้ามี) ที่ใช้ในการติดต่อ บจก.
8.เบอร์โทร เมลล์และอาชีพของผู้ถือหุ้นทุกคน
9.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านผู้ให้เช่าที่เป็นเจ้าของ(สถานที่ตั้งเป็นชื่อกรรมการ)
พร้อมหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (กรณีถ้าจัดตั้งและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
แต่ถ้าจัดตั้งอย่างเดียว ให้ใช้แค่สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน
10.รูปถ่ายห้างหุ้นส่วนจำกัดภายในภายนอกอย่างน้อย 5-6 รูป (กรณีถ้าจัดตั้งและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
11.สำเนาบัตร เบอร์โทรของพยาน 2 ท่าน
12.ชื่อและเลขที่ใบอนุญาตของผู้สอบบัญชี
13.สำเนาบัตรของผู้รับรองลงลายมือชื่อ ผู้สอบบัญชี ผู้ทำบัญชี หรือทนายความ (กรณีผู้มีอำนาจลงนามไม่ได้ไปยื่นด้วยตนเอง)

จดทะเบียนบริษัท แบบกระดาษ

1.สมัครผู้ใช้งานกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อจองชื่อกิจการ
2.จองชื่อบริษัท
3.เมื่อผลการจองชื่อผ่าน นำชื่อที่เราจองไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มาจัดทำเอกสารสำหรับจดทะเบียน
ดังนี้
1.อบจ.1
2.คำรับรอง
3.บอจ.2
4.แบบ ว. ตามประเภทธุรกิจ
ว.1 พาณิชยกรรม
ว.2 บริการ
ว.3 อุตสาหกรรมและหัตถกรรม
ว.4 เกษตรกรรม
ว.5 สำนักงานปฎิบัติการภูมิภาค
หากต้องการเพิ่มประเภทธุรกิจเพิ่มเติม ต่อจากแบบ ว. ตามประเภทธุรกิจ สามารถเพิ่มแบบ ว. เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์เพิ่มเติมได้
5.อบจ.3
6.แบบ ก.
7.รายชื่อผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น
8.รายงานการประชุมตั้งบริษัท
9.ข้อบังคับ
10.อบจ.5
11.สสช.1
12.ใบชำระเงินค่าหุ้น ของแต่ละท่าน แยกกันทีละใบ
13.แนบไฟล์งานแผนที่ตั้งบริษัท ในฟอร์มแผนที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของกรมพัฒนา
14.หนังสือมอบอำนาจ หากผู้มีอำนาจลงนามไม่ได้ไปยื่นจดทะเบียนด้วยตนเอง
15.การจัดทำเอกสารต้องพิมพ์ดีด หรือพิมพ์จากคอมพิวเตอร์เท่านั้น
16.เมื่อจัดทำเอกสารเรียบร้อยแล้ว พิมพ์มาให้ผู้มีอำนาจลงนาม ผู้ถือหุ้น ผู้รับรองลงลายมือชื่อ
และพยาน ลงนามตามชื่อของแต่ละท่านให้ครบถ้วนทุกหน้า พร้อมประทับตราบริษัท (หรือไม่แน่ใจตราประทับว่าถูกต้องหรือไม่ ไปประทับตราที่กรมพัฒนาหลังจากที่สอบถามเจ้าหน้าที่ว่าถูกต้องแล้ว)
17.นำไปจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ทุกแห่ง พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการจัดตั้ง (ต่างเขตพื้นที่ได้ ยกเว้นจดเปลี่ยนแปลง ต้องไปที่พื้นที่นั้นเท่านั้น)
18.หากเอกสารถูกต้องครบถ้วน เราจะได้รับเอกสารสำคัญการจดทะเบียน
และเราต้องขอคัดเอกสารสำคัญดังนี้
1.หนังสือรับรองทุกหน้า
2.อบจ2
3.อบจ.3

Message us